เมนู

บทว่า เอวํสุขทุกฺขปฏิสํเวที ความว่า เราได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์
อย่างนี้. ส่วนทุกข์ เป็นเพียงทุกข์ประจำสังขารเท่านั้น.
บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า เรามีที่สุดแห่งอายุห้าสิบเจ็ด
โกฏิกับหกสิบแสนปี อย่างนี้.
หลายบทว่า โส ตโต จุโต ความว่า เรานั้น จุติจากดุสิตพิภพ
นั้นแล้ว.
ชุมนุมบทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า เราเกิดแล้วในพระครรภ์ของ
พระนางมหามายาเทวีในภพนี้.
บทว่า อิติ แปลว่า ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า สาการํ สอุทฺเทสํ คือพร้อมด้วยอุเทศ ด้วยอำนาจ
ชื่อและโคตร, พร้อมด้วยอาการ ด้วยอำนาจผิวพรรณเป็นต้น.
จริงอยู่ สัตว์ คน อันชาวโลกย่อมแสดงขึ้น ด้วยชื่อและโคตรว่า
ติสสะ โคตมะ ดังนี้. สัตว์ ย่อมปรากฏโดยความเป็นต่าง ๆ กัน ด้วยผิวพรรณ
เป็นอาทิว่า ขาว ดำคล้ำ ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ชื่อและโคตร ชื่อว่า
อุเทศ, ผิวพรรณเป็นต้นนอกนี้ ชื่อว่าอาการ.

พวกเดียรถีย์ระลึกชาติได้ 40 กัป


ถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกบุพเพนิวาสได้พวกเดียว
เท่านั้นหรือ ? ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป :- พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง
ระลึกได้พวกเดียว ก็หาไม่, ถึงแม้พระปัจเจกพุทธ พระสาวกและเดียรถีย์
ก็ระลึกได้, แต่ว่าระลึกได้โดยไม่วิเศษเลย.* จริงอยู่ พวกเดียรถีย์ ย่อมระลึก
ได้เพียง 40 กัปเท่านั้น เลยจากนั้นไป ระลึกไม่ได้.
* สารัตถทีปนี 1 / 613 เป็น. . . อวิเสเสน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะมีปัญญาหย่อนกำลัง.
แท้จริง ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น จัดว่าหย่อนกำลัง เพราะเว้น
จากการกำหนดนามและรูป.

[พระอสีติมหาสาวกระลึกชาติได้แสนกัป]


ก็บรรดาพระสาวกทั้งหลาย พระมาหาสาวก 80 รูป ระลึกได้แสนกัป.
พระอัครสาวกทั้ง 2 องค์ ระลึกได้หนึ่งอสงไชยและแสนกัป. พระปัจเจกพุทธ
ทั้งหลาย ระลึกได้สองอสงไขยและแสนกัป. จริงอยู่ อภินิหารของพระมหา-
สาวก พระอัครสาวกและพระปัจเจกพุทธเหล่านั้น มีประมาณเท่านี้. ส่วน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกำหนด, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมระลึกได้
ตราบเท่าที่ทรงปรารถนา. แต่พวกเดียรถีย์ ย่อมระลึกได้ตามลำดับขันธ์เท่านั้น
พ้นลำดับ (ขันธ์) ไป ย่อมไม่สามารถจะระลึกได้ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ.
เพราะว่าการก้าวลงสู่ประเทศ (แห่งญาณ) ที่ตนปรารถนา ย่อมไม่มีแก่เดียรถีย์
เหล่านั้น ผู้เป็นเหมือนคนบอด. พระสาวกทั้งหลาย ย่อมระลึกได้แม้โดย
ประการทั้ง 2. พระปัจเจกพุทธทั้งหลาย ก็เหมือนอย่างนั้น, ส่วนพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกได้ตลอดสถานที่ ๆ ทรงมุ่งหวังนั้น ๆ ทั้งหมดทีเดียว
ในเบื้องต่ำหรือเบื้องบน ในโกฏิกัปเป็นอันมากด้วยลำดับขันธ์บ้าง ด้วยอำนาจ
จุติและปฏิสนธิบ้าง ด้วยอำนาจการก้าวไปดุจราชสีห์บ้าง.
ในคำว่า อยํ โข เม พฺราหฺมณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า เม คือ มยา แปลว่า อันเรา. ความรู้แจ้ง ท่านเรียกว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า ทำให้รู้แจ้ง.